วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2556

กีฬา Bungee jumping

File:Bungie-Jumping.jpg




บันจีจัมพ์ เป็นกีฬาที่ผู้เล่นจะต้องกระโดดลงมาจากที่สูงโดยมีเชือกยึดไว้ โดยทั่วไปจะกระโดดลงมาจากสถานที่ที่เคลื่อนที่ไม่ได้ เช่น สะพาน อาคารสูง เป็นต้น แต่บางครั้งก็สามารถกระโดลงมาจากอากาศยานอย่างบัลลูนหรือเฮลิคอปเตอร์ได้เช่นกัน
บันจี้จัมพ์ เป็นกีฬาท้าความกล้าซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูงในหมู่หนุ่มสาวยุคใหม่ทั่วโลก แต่เดิมเป็นการพิสูจน์ความกล้าหาญ ความป็นชายชาตรีของชาวเมลานีเชี่ยน ชนเผ่าหนึ่งในหมู่เกาะแปซิฟิก ซึ่งมีพิธีพิสูจน์ความเป็นชายชาตรีโดยการกระโดดจากหอสูง ประมาณ 20 เมตร โดยใช้เพียงเชือกจากเถาวัลย์มัดขาไว้ แล้วดิ่งตัวลงมา ต่อมาชมรมกีฬาของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดคือ Oxford University Dangerous Sport Club ได้นำกิจกรรมนี้มาดัดแปลง โดยใช้เชือกยางเหนียวนุ่มมัดข้อเท้าแทนเถาวัลย์ และทำการกระโดดจาก London Bridge แต่ทำได้แค่ครั้งเดียว จนต่อมาในปี ค.ศ. 1988 กีฬาบันจี้จัมพ์ได้ถูกนำกลับมาใช้ในเชิงพาณิชย์โดย A.J. Hackett จากประเทศนิวซีแลนด์ จนได้รับความนิยม และปลอดภัยเชื่อถือได้อย่างทุกวันนี้ อุปกรณ์การเล่นบันจี้จัมพ์ เนื่องจากเป็นกีฬาที่มีความเสี่ยงค่อนข้างสูงอุปกรณ์ที่ใช้จึงต้องได้มาตรฐาน และต้องได้รับการตรวจเช็คอย่างละเอียดก่อนที่จะทำการเล่นหรือกระโดดจริง โดยอุปกรณ์หลักประกอบด้วย 1. สายเชือกที่เรียกว่า Bungy Corde ซึ่งเป็นเชือกสายยืดที่ต้องรับน้ำหนักได้อย่างเหมาะสม 2. ที่รัดขา หรือ Leg Wrap ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้พันขาโดยจะมีขอเกี่ยวกับ Bungy Corde ขั้นตอนการกระโดดบันจี้จัมพ์ ในการเตรียมตัว ผู้เล่นต้องชั่งน้ำหนักโดยปลดทรัพย์สินหรือเครื่องแต่งกายที่ไม่จำเป็นออกเพื่อชั่งน้ำหนักอย่างแท้จริง เพื่อที่ผู้ควบคุมการกระโดดหรือ Jump Master จะได้คำนวณหาค่าที่เหมาะสม สำหรับการปล่อยสายและขนาดของสายที่จะใช้ ที่เรียกว่า Bungy Corde หรือสายยืด ซึ่งมีตั้งแต่ขนาดที่รับน้ำหนักได้ 40 – 60 กิโลกรัม 60 - 80 กิโลกรัม และ 80 – 100 กิโลกรัม จากนั้นก็นั่งลงให้ Jump Master พันขาด้วย Leg Wrap เหมือนที่รัดหน้าท้อง แล้วก็ใช้ Leg Step หรือเชือกพันขา โดยใช้ Pin ตัวเกี่ยวต่อกับ Bungy Corde ที่คำนวณไว้แล้ว อุปกรณ์ที่สำคัญแม้มีไม่กี่ชิ้น แต่ก็เน้นความปลอดภัยและอยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของ Jump Master ตลอด ท่ากระโดดบันจี้จัมพ์ ท่ากระโดดของบันจี้จัมพ์ มีด้วยกัน 4 ท่า คือ 1. DD คือการดิ่งหรือล้มตัวแบบนิ่งๆ ลงมา 2. Forward การกระโดดพุ่งตัวลงมาจากเครน 3. Back ward เป็นการหันหลังกระโดด 4. Tandom เป็นการกระโดดคู่ เมื่อสิ้นการคำนวณและใส่อุปกรณ์เรียบร้อยแล้ว ก็ไปขึ้นกระเช้า แล้วเครนก็พาขึ้นไปที่ความสูง 50 เมตร จากนั้น Jump Master ก็ตรวจความพร้อม เมื่อทุกอย่างเรียบร้อย ก็เตรียมกระโดด ซึ่ง Jump Master จะบอกวิธีการกระโดดอีกครั้ง
ข้อแนะนำในการเล่นบันจี้จัมพ์ อย่ามองข้างล่าง ให้มองวิวข้างหน้า ทำใจให้สบาย ค่อยๆกางมือออก แล้วกระโดด พอเชือกลงมาจนสุดแล้วมันจะดีดกลับ ตัวเราจะเด้งขึ้น หรืออาจจะหมุนเหมือนควงสว่าน สถานที่เล่นบันจี้จัมพ์ในเมืองไทย พัทยา มีผู้ใหบริการบันจี้จัมพ์ 2 ราย คือ Jungle Bungy Jump และ Pattaya Kart Speed Way เกาะสมุย มีผู้ให้บริการ 1 ราย ที่อ่าวเฉวง Samui Bungee Jumping โดยกระโดดที่ความสูง 50 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลของอ่าวเฉวง ภูเก็ตมีผู้ให้บริการ 2 ราย คือ Jungle Bungy Jump ที่หาดกระทู้ โดยกระโดดจากความสูง 50 เมตรเหนือน้ำทะเล และ World Bungy ที่หาดป่าตอง โดยเป็นที่กระโดดบีนจี้จัมพ์ที่สูงที่สุดในประเทศไทย เชียงใหม่ มีผู้ให้บริการ 1 ราย คือ ที่อำเภอแม่ริม Jungle Bungy Jump (Chiang Mai) โดยขึ้นลิฟท์ไปยังแท่นกระโดดซึ่งสูง 50 เมตรเหนืออ่างเก็บน้ำ

อ้างอิงมาจาก http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B9%8C

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น