วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2556

กีฬา Bungee jumping

File:Bungie-Jumping.jpg




บันจีจัมพ์ เป็นกีฬาที่ผู้เล่นจะต้องกระโดดลงมาจากที่สูงโดยมีเชือกยึดไว้ โดยทั่วไปจะกระโดดลงมาจากสถานที่ที่เคลื่อนที่ไม่ได้ เช่น สะพาน อาคารสูง เป็นต้น แต่บางครั้งก็สามารถกระโดลงมาจากอากาศยานอย่างบัลลูนหรือเฮลิคอปเตอร์ได้เช่นกัน
บันจี้จัมพ์ เป็นกีฬาท้าความกล้าซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูงในหมู่หนุ่มสาวยุคใหม่ทั่วโลก แต่เดิมเป็นการพิสูจน์ความกล้าหาญ ความป็นชายชาตรีของชาวเมลานีเชี่ยน ชนเผ่าหนึ่งในหมู่เกาะแปซิฟิก ซึ่งมีพิธีพิสูจน์ความเป็นชายชาตรีโดยการกระโดดจากหอสูง ประมาณ 20 เมตร โดยใช้เพียงเชือกจากเถาวัลย์มัดขาไว้ แล้วดิ่งตัวลงมา ต่อมาชมรมกีฬาของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดคือ Oxford University Dangerous Sport Club ได้นำกิจกรรมนี้มาดัดแปลง โดยใช้เชือกยางเหนียวนุ่มมัดข้อเท้าแทนเถาวัลย์ และทำการกระโดดจาก London Bridge แต่ทำได้แค่ครั้งเดียว จนต่อมาในปี ค.ศ. 1988 กีฬาบันจี้จัมพ์ได้ถูกนำกลับมาใช้ในเชิงพาณิชย์โดย A.J. Hackett จากประเทศนิวซีแลนด์ จนได้รับความนิยม และปลอดภัยเชื่อถือได้อย่างทุกวันนี้ อุปกรณ์การเล่นบันจี้จัมพ์ เนื่องจากเป็นกีฬาที่มีความเสี่ยงค่อนข้างสูงอุปกรณ์ที่ใช้จึงต้องได้มาตรฐาน และต้องได้รับการตรวจเช็คอย่างละเอียดก่อนที่จะทำการเล่นหรือกระโดดจริง โดยอุปกรณ์หลักประกอบด้วย 1. สายเชือกที่เรียกว่า Bungy Corde ซึ่งเป็นเชือกสายยืดที่ต้องรับน้ำหนักได้อย่างเหมาะสม 2. ที่รัดขา หรือ Leg Wrap ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้พันขาโดยจะมีขอเกี่ยวกับ Bungy Corde ขั้นตอนการกระโดดบันจี้จัมพ์ ในการเตรียมตัว ผู้เล่นต้องชั่งน้ำหนักโดยปลดทรัพย์สินหรือเครื่องแต่งกายที่ไม่จำเป็นออกเพื่อชั่งน้ำหนักอย่างแท้จริง เพื่อที่ผู้ควบคุมการกระโดดหรือ Jump Master จะได้คำนวณหาค่าที่เหมาะสม สำหรับการปล่อยสายและขนาดของสายที่จะใช้ ที่เรียกว่า Bungy Corde หรือสายยืด ซึ่งมีตั้งแต่ขนาดที่รับน้ำหนักได้ 40 – 60 กิโลกรัม 60 - 80 กิโลกรัม และ 80 – 100 กิโลกรัม จากนั้นก็นั่งลงให้ Jump Master พันขาด้วย Leg Wrap เหมือนที่รัดหน้าท้อง แล้วก็ใช้ Leg Step หรือเชือกพันขา โดยใช้ Pin ตัวเกี่ยวต่อกับ Bungy Corde ที่คำนวณไว้แล้ว อุปกรณ์ที่สำคัญแม้มีไม่กี่ชิ้น แต่ก็เน้นความปลอดภัยและอยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของ Jump Master ตลอด ท่ากระโดดบันจี้จัมพ์ ท่ากระโดดของบันจี้จัมพ์ มีด้วยกัน 4 ท่า คือ 1. DD คือการดิ่งหรือล้มตัวแบบนิ่งๆ ลงมา 2. Forward การกระโดดพุ่งตัวลงมาจากเครน 3. Back ward เป็นการหันหลังกระโดด 4. Tandom เป็นการกระโดดคู่ เมื่อสิ้นการคำนวณและใส่อุปกรณ์เรียบร้อยแล้ว ก็ไปขึ้นกระเช้า แล้วเครนก็พาขึ้นไปที่ความสูง 50 เมตร จากนั้น Jump Master ก็ตรวจความพร้อม เมื่อทุกอย่างเรียบร้อย ก็เตรียมกระโดด ซึ่ง Jump Master จะบอกวิธีการกระโดดอีกครั้ง
ข้อแนะนำในการเล่นบันจี้จัมพ์ อย่ามองข้างล่าง ให้มองวิวข้างหน้า ทำใจให้สบาย ค่อยๆกางมือออก แล้วกระโดด พอเชือกลงมาจนสุดแล้วมันจะดีดกลับ ตัวเราจะเด้งขึ้น หรืออาจจะหมุนเหมือนควงสว่าน สถานที่เล่นบันจี้จัมพ์ในเมืองไทย พัทยา มีผู้ใหบริการบันจี้จัมพ์ 2 ราย คือ Jungle Bungy Jump และ Pattaya Kart Speed Way เกาะสมุย มีผู้ให้บริการ 1 ราย ที่อ่าวเฉวง Samui Bungee Jumping โดยกระโดดที่ความสูง 50 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลของอ่าวเฉวง ภูเก็ตมีผู้ให้บริการ 2 ราย คือ Jungle Bungy Jump ที่หาดกระทู้ โดยกระโดดจากความสูง 50 เมตรเหนือน้ำทะเล และ World Bungy ที่หาดป่าตอง โดยเป็นที่กระโดดบีนจี้จัมพ์ที่สูงที่สุดในประเทศไทย เชียงใหม่ มีผู้ให้บริการ 1 ราย คือ ที่อำเภอแม่ริม Jungle Bungy Jump (Chiang Mai) โดยขึ้นลิฟท์ไปยังแท่นกระโดดซึ่งสูง 50 เมตรเหนืออ่างเก็บน้ำ

อ้างอิงมาจาก http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B9%8C

กีฬา Drifting

Drifting


การดริฟต์ (Drifting หรือ Powersliding) คือ รูปแบบการขับขี่รถยนต์ในทางโค้ง โดยทำการอันเดอร์สเตียร์ (under steer) เข้าหาโค้ง แล้วผ่านโค้งนั้นไปสำหรับการนี้โดยเฉพาะ การดริฟต์อาจใช้เพื่อความสนุก ซึ่งมีจุดประสงค์ที่ผสมผสานระหว่างความสนุกกับการเสริมทักษะในการควบคุมรถ หรืออาจใช้ในการแข่งขันก็ได้





การแข่งดริฟต์ เป็นการแข่งที่ดูจากพฤติกรรมการดริฟต์มากกว่าความเร็วที่วิ่งได้ต่อรอบหรือตำแหน่งที่เข้าเส้นชัย เกณฑ์การตัดสินหลัก ๆ จะขึ้นอยู่กับ 4 ปัจจัยได้แก่ มุมการเข้าโค้ง ไลน์ ความเร็ว และลูกเล่นหรือสไตล์การดริฟต์ โดยปกติแล้วการดริฟต์ไม่ใช่วิธีที่ทำให้ไปได้เร็วที่สุดในสนามแข่ง 




แต่ในบางครั้งการดริฟต์นั้นจะมีประโยชน์อย่างมาก เช่นในการแข่งแรลลี่ แต่ในการแข่งเซอร์กิตนั้น การดริฟต์จะทำให้รถไปได้ช้ากว่าการใช้เทคนิคธรรมดา การดริฟต์นั้นจะสามารถกระทำได้ง่ายกับรถที่เป็นระบบขับเคลื่อนด้วยล้อหลัง เพราะลักษณะการถ่ายกำลังและการถ่ายเทน้ำหนักของรถประเภทนี้เหมาะสมที่สุด

อ้างอิงมาจาก http://teshwin57.blogspot.com/p/drifting.html

กีฬา Motocross

ประวัติ Motocross  โมโตครอส คือ



รูปแบบของ กีฬามอเตอร์ไซด์ ที่ทำการแข่งขันในสนามที่มีภูมิประเทศขรุขระ หรือมีสิ่งกีดขวางต่างๆเพื่อเพิ่มความยากให้กับการแข่งขัน
และเป็นการเพิ่มความสนุกสนานให้กับท่านผู้ชมไปในตัว ซึ่งรูปแบบการแข่งขันและตัวรถถือกำเนิดมาจาก ฝรั่งเศส และได้รับการแพร่หลายไปยังเกาะอังกฤษ
โดยชื่อ Motocross หรือ โมโตครอส ได้มาจากคำว่า “มอเตอร์ไซด์“และ”ครอสคันทรี” (“Motorcycle” and “Cross Country”)
ประวัติความเป็นมาของโมโตครอสBritish Motocross เป็นวิวัฒนาการของ ออฟโรด หรือที่เรียกว่า scrambling ซึ่งเป็นวิวัฒนาการของ การทดลองใช้รถจักรยานยนต์เพื่อกระทำในกิจการด้านต่างๆ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่นิยมมากในภาคเหนือของสหราชอาณาจักร (UK ) ช่วงที่รู้จักกันครั้งแรกเกิดขึ้นที่ Camberley , Surrey ในปี 1924 ถึงปี 1930
เป็นกีฬาในความนิยมมากขึ้นอย่างรวดเร็วและแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหราชอาณาจักรที่มีทีมจาก  บริษัท เบอร์มิงแฮม (BSA), Norton ,  Rudge , และ AJS เข้าร่วมแข่งขัน ในกิจกรรมครั้งนั้น จักรยานออฟโรดจากยุคที่แตกต่างกันเล็กน้อยจากที่ใช้บนท้องถนน
การแข่งขันโมโตครอสเป็นการแข่งขันที่รุนแรง เนื่องจากต้องแข่งขันในภูมิประเทศที่ขรุขระ ซึ่งด้วยเหตุนี้เองได้นำไปสู่การปรับปรุงด้านเทคนิคทางด้านต่างๆของรถจักรยานยนต์ เพื่อที่จะสามารถนำมาทำการแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยเริ่มมีการปรับปรุงช่วงล่างต่างๆของมอเตอร์ไซต์ที่ใช้ในการแข่งขัน และในเวลาต่อมาก็มีการจดทะเบียนเพื่อเริ่มในกระบวนการผลิตเพื่อออกจำหน่ายสู่ท้องตลาด
หลังจากสิ้นสุกสงครามโลกครั้งที่สอง  บีเอสเอ  (BSA) ก็ได้กลายเป็น บริษัท รถจักรยานยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่เป็นผู้ครอบงำการจัดแข่งขันระดับนานาชาติตลอดปี 1940
motocross ถูกนำไปแพร่หลายในประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี 1966 ต่อมาช่วงปลายทศวรรษที่ 1960 บริษัท รถจักรยานยนต์ญี่ปุ่นเริ่มท้าทายโรงงานยุโรปสำหรับอำนาจสูงสุดในโลก Motocross
โดยใช้ชื่อยี่ห้อว่า Suzuki เข้าชิงแชมป์โลกเป็นครั้งแรกของโรงงานญี่ปุ่นที่เข้าร่วมในรายการนี้และได้รับแชมป์ในปี 1970 ในรุ่น 250 ซีซี
Motocross เริ่มที่จะเติบโตและได้ความนิยมขึ้นเรื่อยๆในประเทศสหรัฐอเมริกา และถูกเปิดตัวให้เป็นการแข่งขันกีฬาครั้งยิ่งใหญ่ขึ้นในปี 1972 ที่ สนาม Los Angeles Coliseum
หลังจากนั้นก็เริ่มที่จะมีการปรับเพิ่มการแข่งขันให้มีรายการแข่งขันหลายๆประเภทสำหรับโมโตครอส โดยในปี 1975 นักแข่งชาวอเมริกันก็สามารถครองแชมป์โลกในรุ่น 250 ซีซี ได้สำเร็จ
ในช่วงต้นทศวรรษ 1980 โรงงานญี่ปุ่นเป็นประธานในพิธีจัดนิทรรศการณ์เทคโนโลยีขึ้น โดยมีการปรับปรุงเครื่องยนต์สองจังหวะที่จากเดิมมีระบบระบายความร้อนด้วยอากาศ และปรับเปลี่ยนให้มี
เครื่องยนต์ที่มีระบบระบายความร้อนด้วยน้ำเข้ามาแทนที่ และติดตั้งโช้คอัพช่วงล่างหลังเดี่ยวเข้ามาแทนที่ ต่อมาปี 1990 ได้มีการเข้มงวดมากขึ้นเกี่ยวกับกฎหมายสิ่งแวดล้อม ซึ่งทางรัฐแคลิฟอร์เนีย
ได้บังคับให้ผู้ผลิตและการพัฒนาเครื่องยนต์ได้คำนึงถึงเทคโนยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในจุดนี้เอง ก็ได้ถือกำเนินเครื่องยนต์ของรถโมโตครอสแบบสี่จังหวะเกิดขึ้น
ทำให้ผู้ผลิตรายใหญ่ๆได้เริ่มต้นที่จะหันมามีส่วนร่วมที่จะผลิตและเข้าร่วมการแข่งขันโมโตครอสในแบบเครื่องยนต์สี่จังหวะกันมากขึ้น

อ้างอิงมาจาก http://www.motocross.in.th/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4-motocross-%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%95%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%AA-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD/

กีฬา Skysurfing

Skysurfing


Skysurfing การกระโดดร่มซึ่ง skydiver สวมแนบมากับคณะกรรมการฟุตของเขาหรือเธอและดำเนินการไม้ลอยท่องสไตล์ในช่วงเหว โต๊ะที่ใช้เป็นมีขนาดเล็กกว่ากระดานโต้คลื่นจริงและมีลักษณะเหมือนสโนว์บอร์ดสเก็ตบอร์ดหรือขนาดใหญ่ 






สิ่งที่แนบมากับเท้าทำตามปกติที่ถอดออกได้เพื่อที่ว่าถ้า skydiver สูญเสียการควบคุมหรือมีความยากลำบากของพวกเขาเปิดร่มชูชีพคณะกรรมการสามารถ jettisoned Surf ไฟลท์คือท้องฟ้า บริษัท แรกคณะกรรมการลิขสิทธิ์โดย Jerry Loftis (1 มกราคม 1969 - 12 สิงหาคม 1998)




อ้างอิงมาจาก http://teshwin57.blogspot.com/p/skysurfing.html

กีฬา Flow Boarding

Flow Boarding โต้คลื่นได้ แม้ไม่มีทะเล



Flow Boarding โต้คลื่นได้ แม้ไม่มีทะเล
Flow Boarding กีฬาทางน้ำ กีฬารูปแบบใหม่ที่ขอแนะนำให้กับผู้ที่ชื่นชอบความท้าทายและมั่นใจว่าสามารถเอาชนะความแรงของกระแสน้ำได้เท่านั้น และ Flow Boarding เหมาะมากๆครับ สำหรับอากาศและสภาพภูมิประเทศแบบเมืองไทยอย่างบ้านเรา เพราะว่าภูมิประเทศอย่างบ้านเราไม่ค่อยเอื้ออำนวยเท่าไร กับการเล่นกีฬาโต้คลื่น

โดย Flow Boarding เป็นการดัดแปลงกีฬาประเภทบอร์ดทางน้ำ ให้กลายเป็นเกมกีฬาท้าทายความสามารถ ที่จะเล่นที่ไหนหรือเมื่อไรก็ได้ ขอแค่มีเครื่องสร้างกระแสน้ำหรือที่เรียกว่า Flow Rider และบอร์ดคู่ใจก็พอ นอกจากนี้ Flow Boarding ยังผสมผสานทักษะกีฬาประเภทบอร์ดอื่นๆเข้าไปด้วย ไม่ว่าจะเป็น Skate board หรือ Snow board เพื่อเพิ่มดีกรีความเข้มข้นไปอีกขั้น Flow Boarding นิยมมากในต่างประเทศ และในบ้านเรา Flow Boarding ก็กำลังเป็นที่ให้สนใจมากๆในหมู่นักกีฬาประเภท Extreme ซึ่งถ้าใครอยากลองเล่น ก็ลองได้ที่ Flow House Bangkok สุขุมวิท 26 โดยที่นี่ มีเครื่องที่สามารถสร้างคลื่นมาตรฐาน 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมงแห่งแรกในไทย
ความสนุกอยู่ตรงที่ เราจะต้องใช้ทักษะและความสามารถในการต้านความแรงของกระแสน้ำที่มีความรุนแรง 20-30 ไมล์ต่อชั่วโมง โดยผู้เล่นจะต้องทรงตัวอยู่บนแผนบอร์ดให้ได้ และเมื่อทรงตัวให้อยู่บนบอร์ดได้แล้ว แน่นอนละครับว่าขึ้นชื่อว่าเป็นกีฬา Extreme แล้ว เรื่องของการออกลวดลายขณะทรงตัวนั้นเป็นเสน่ห์ของกีฬา Flow Boarding ที่ขาดไม่ได้ โดยผู้ที่เริ่มเล่น อาจจะเริ่มจากการเลือกบอร์ดที่ยาวและหนักกว่าเพราะจำทำให้ทรงตัวได้ง่าย และเมื่อเริ่มชำนาญก็จะค่อยๆลดขนาดและน้ำหนักลง เพื่อการออกลวดลายที่ง่ายและท้าทายมากกว่านั่นเอง หากท่านไหนกำลังลองหากิจกรรมที่แปลกใหม่ และท้าทายทำละก็ ไม่ควรพลาดครับ

อ้างอิงมาจาก http://men.sanook.com/551/flow-boarding-%E0%B9%82%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89-%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A5/

กีฬา Windsurfing

Windsurfing

Windsurfing ถือเป็นกีฬาทางน้ำชนิดหนึ่งที่มีความคล้ายกับ Sailing หรือ เรือใบ แต่แตกต่างกันตรงที่ Windsurfing ผู้เล่นจะยืนเพื่อควบคุมทิศทางของเรือแต่เรือใบจะใช้การนั่งควบคุมแทน โดยกีฬาชนิดนี้จะตอบสนองผู้ที่ชื่นชอบกีฬาที่มีความสนุกสนาน ผ่อนคลาย บวกกับความท้าทายและความสะใจสุดๆได้ดี เพราะการเล่น Windsurfing จะเน้นความเร็วที่มาจากคลื่นลมผสมผสานกับความลุ้นระทึกของคลื่นทะเล หากคุณได้ลองสัมผัสกับความสะใจและความสนุกสนานของกีฬาชนิดนี้แล้ว รับรองได้ว่านี่จะเป็นตัวเลือกที่ดีให้กับการพักผ่อนและเติมพลังชีวิตให้คุณลุยงานต่อได้ถึงไหนถึงกันเลยทีเดียว

เตรียมตัวก่อนเล่น
ก่อนอื่นเลย คุณต้องมีใจที่กล้า รักและสะใจกับความท้าทาย ต้องฟิตร่างกายให้แข็งแรง ต้องว่ายน้ำเป็น เพราะ Windsurfing เป็นกีฬาทางน้ำที่อาจจะตกน้ำได้ง่ายในช่วงการฝึกแรกๆ หากคุณว่ายน้ำไม่เป็นแล้วอาจจะเกิดอันตรายได้ เตรียมได้ครบดังนี้แล้วโต้คลื่นได้เลย

จะเริ่มต้นอย่างไรดี

คุณอาจจะลองสำรวจตามสถานที่ท่องเที่ยวทางทะเลว่าที่ไหนมีบริการให้เช่าอุปกรณ์การแล่นและสอนวิธีการเล่นกีฬาชนิดนี้ ส่วนราคาของอุปกรณ์จะไม่แตกต่างกับกีฬาทางน้ำชนิดอื่นคือประมาณเจ็ดหมื่นถึงแปดหมื่นบาท ซึ่งในการเล่นครั้งแรกๆ ควรหาเช่าอุปกรณ์เสียก่อน ซึ่งราคาไม่แพงและจะได้ทราบว่าคุณเหมาะกับเครื่องเล่นแบบใดนั่นเอง
สำหรับหลักสูตรการสอนนั้นส่วนมากมีเปิดสอนตามที่ให้บริการเช่าอุปกรณ์ทั่วไป โดยขั้นแรก ผู้ฝึกจะให้คุณลองฝึกการทรงตัวในน้ำให้ดีเสียก่อนแล้วค่อยๆ พัฒนาขึ้นไปเป็นการทรงตัวบนกระดาน เพราะเมื่อคุณทรงตัวในน้ำได้แล้วการที่จะทรงตัวบนกระดานก็จะไม่ยากอีกต่อไป ถัดไปก็จะถึงเวลาของการฝึกแบบเต็มที่ ซึ่งจะมีผู้ดูแลไปคอยดูแลคุณในการฝึกบนคลื่นทะเลและสายลมของจริง และเมื่อคุณเสร็จการฝึกแล้วก็จะได้ประกาศนียบัตรรับรองอีกด้วย ในช่วงเวลาที่เหมาะกับการเล่น Windsurfing ในบ้านเราควรที่จะเป็นหน้าร้อนและหนาว ควรหลีกเลี่ยงหน้ามรสุมโดยเด็ดขาด และสำหรับผู้เริ่มเล่น ในตอนเช้าจะเป็นเวลาที่เหมาะสมที่สุด เนื่องจากลมจะไม่แรงเท่าไร แต่สำหรับคนที่ชำนาญ ช่วงบ่ายที่มีลมแรงจะเหมาะสมที่สุด

กฎ กติการ มารยาท และข้อควรปฏิบัติในการเล่น

ควรที่จะคำนึงถึงความปลอดภัยของตัวคุณเองเป็นอันดับแรก เช่น คุณไม่ควรเล่นคนเดียวเพราะหากเกิดอันตรายจะไม่มีใครช่วยคุณได้ ควรสวมเสื้อชูชีพทุกครั้งในการเล่น ควรรู้จักสภาพร่างกายของตัวเองในขณะนั้นว่าพร้อมหรือไม่ และควรตรวจสภาพเครื่องเล่นของคุณให้ดีก่อนที่นำออกไปเล่นทุกครั้ง

อุปกรณ์ในการเล่น

ส่วนที่เป็นกระดาน ( Board ) โดยทั่วไปทำจากไฟเบอร์กลาส บุข้างในด้วยโฟมเพื่อช่วยในการลอยตัวและมีน้ำหนักเบา ด้านบนจะเคลือบด้วยวัสดุกันลื่นมีหลายแบบทั้งที่เพื่อเหมาะสมกับความต้องการที่แตกต่างกัน
ส่วนของใบ ( Sail ) โดยทั่วไป ใบจะทำจากผ้า Darron และ Mono Film ไฟเบอร์กลาส ส่วนเสาทำจาก Carbon Fiber มีหลายแบบตามแต่ความต้องการของผู้เล่นเช่นกัน
เสื้อชูชีพ มีความจำเป็นเพราะเป็นสิ่งที่ป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวคุณในระหว่างการเล่นได้ดีชุดฝึก ควรจะเป็นชุดที่ใส่สบาย ไม่อมน้ำ หากกลัวแมงกะพรุนอาจจะใส่เป็น Wet Suit กันไว้ก็ได้


อ้างอิงมาจาก http://www.weddingstudio.org/advent0006.html

กีฬา Sandboarding

Sandboarding


Sandboarding เป็นกีฬาคล้ายกับสโนว์บอร์ด มันเป็นกิจกรรมสันทนาการที่ที่เกิดขึ้นบนเนินทรายมากกว่าภูเขาหิมะปกคลุม-boardsport นี้มีู้ผู้เล่นส่วนใหญ่ในพื้นที่ทะเลทรายหรือ





พื้นที่ชายฝั่งทะเลที่มีเนินทรายชายหาดมันเกี่ยวข้องกับการขี่ข้ามหรือลงเนินในขณะที่ยืนด้วยเท้าทั้งสองมัดติดอยู่กับคณะกรรมการแม้ว่าบางคนใช้ sandboarders โดยไม่ต้องผูกมันเป็นความนิยมน้อยกว่าสโนว์บอร์ดส่วนหนึ่งเป็นเพราะมันเป็นเรื่องยากมากที่จะสร้างลิฟท์






สกียานยนต์เมื่อเนินทรายและอื่น ๆ โดยทั่วไปจะต้องมีส่วนร่วมเดินกลับขึ้นไปด้านบน หรือพวกเขาอาจขี่รถชายหาดหรือกลับรถทุกพื้นที่ที่ด้านบนของเนินทราย บนมืออื่น ๆ , เนินทรายเป็นปกติใช้ได้ตลอดทั้งปี

อ้างอิงมาจาก http://teshwin57.blogspot.com/p/sandboarding.html